งามอย่างไร ถึงเรียกว่างามอย่างหญิงไทย?

10959612_642391262554204_397812401032649379_n

ความงามแบบเรือนสามน้ำสี่ ถือเป็นความงามของหญิงไทยทั่วทุกภูมิภาคที่ควรมี โดยมีลายละเอียดดังต่อไปนี้

เรือนสาม ประกอบด้วย

๑. เรือนที่อยู่อาศัย : ต้องสะอาด เป็นระเบียบ เช็ดถูให้เงางาม

๒. เรือนผม : ต้องดูแลผมให้ดี อาทิ หวีผม นวดหนังศีรษะ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่เหมาะกับหนังศีรษะและเส้นผม ควรให้ผมดูมีน้ำหนัก

๓. เรือนกาย : ต้องดูแลผิวกายให้สะอาดอยู่เสมอ ให้ดูมีสุขภาพดี อาจจะมีการขัดผิวเพื่อขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป เพื่อให้ผิวที่สดใส น่ามอง

 

น้ำสี่  ประกอบด้วย

๑. น้ำใจ : น้ำแรกที่ต้องมีคือ น้ำใจ เช่น มีแขกมาเยี่ยมบ้าน จะต้องยกน้ำมาต้อนรับแขก ซึ่งน้ำใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสังคมไทย

๒ น้ำคำ คือจะต้องพูดจาไพเราะ ไม่พูดคำหยาบคายให้เสียภาพลักษณ์

๓ น้ำมือ คือ ฝีมือการทำอาหาร ที่เรียกว่า ฝีมือปลายจวัก นั่นเอง

๔ น้ำเต้าในปูน คือ น้ำปูนแดงที่จะต้องไม่แห้ง มีน้ำหล่อลื่นอยู่เสมอ เพราะคนสมัยก่อนชอบเคี้ยวหมาก ดังนั้นเวลาแขกมาบ้านต้องยกหมาก พลู มาต้อนรับนั่นเอง

 

ไหว้อย่างไทย งามอย่างไทย

การไหว้ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของคนไทยที่มีมาแต่ช้านาน ที่ควรได้รับการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยต่อไป

thai-best-pic-2[4]

 

ระดับในการไหว้

การประนมมือไหว้นั้น ฝ่ามือทั้งสองข้างจะต้องทาบทับกัน ปลายนิ้วทาบสนิทกัน ทำหลังมือให้โป่งออกเล็กน้อย ไม่ต้องมากเป็นดอกบัวตูมและไม่แบนราบเป็นใบไม้นะครับ และในการยกมือขึ้นมาไว้ จะมีด้วยกัน ๓ ระดับ ขึ้นอยู่กับว่า ไหว้ใคร คือ ระดับในการไหว้

ไหว้พระ

ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะ จรดหัวแม่มือที่กลางหว่างคิ้ว นิ้วชี้แตะที่เหนือหน้าผาก ก้มหัวให้หน้าขนานกับพื้น ค้อมหลังพอประมาณ

ชาย

ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้ ระดับการไหว้. [2]

หญิง

ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้

ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส

เช่นเดียวกับการไหว้พระ แต่นิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก นิ้วชี้จดหว่างคิ้ว

ชาย

ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้

หญิง

ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

ไหว้บุคคลทั่วไปและผู้เสมอกัน

ประนมมือขึ้น ก้มศีรษะเล็กน้อย หัวแม่มือจรดที่ปลายคาง นิ้วชี้แตะที่จมูก ค้อมหลังพอประมาณ

ชาย

ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้

หญิง

ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้

 

การแต่งกายพื้นถิ่นของไทย ในแต่ละภูมิภาค (ต่อ)

การแต่งกายพื้นถิ่นของไทยภาคกลาง

large_capton
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า “ราชประแตน” ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

 

การแต่งกายพื้นถิ่นของไทยในภาคใต้

ชุดไทย

การแต่งกายของคนในภูมิภาคนี้มีความแตกต่างจากภาคอื่นๆ ทั้งในด้านการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น
กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่

2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี

จากบทความดังกล่าว เป็นบทความเกี่ยวกับการแต่งกายพื้นถิ่นของไทย ทั้งหมด 4 ภูมิภาค ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นที่แตกต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆ อาทิ ปัจจัยทางสภาพภูมิศาสตร์ และปัจจัยทางวัฒนธรรมอันหลากหลาย เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวนับว่ามีผลต่อการเกิดขึ้นของเครื่องแต่งกายตามภูมิภาคต่างๆ ที่นอกจากจะใช่สำหรับนุ่งห่มแล้ว ยังสามารถแสดงถึงความงามที่เป็นเอกลักษณ์ในแต่ละท้องที่อีกด้วย

การแต่งกายพื้นถิ่นของไทย ในแต่ละภูมิภาค

การแต่งกายพื้นถิ่นของภาคเหนือ

1

   ภาคเหนือจัดว่ามีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง) การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย  เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

 

   การแต่งกายพื้นถิ่นภาคอีสาน

esan_clip_image001

        ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน” ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหมผ้าพื้นเมืองอีสาน ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
                                                1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
                                     

 

“ชุดไทย เอกลักษณ์ประจำชาติที่ควรภาคภูมิใจ”

rain_in_thai_6_20140103_1509051102  10304630_513979905395341_6110027388304518245_n

ชุดไทยเป็นชุดประจำชาติไทย ที่มีเอกษณ์เฉพาะไม่เหมือนชาติอื่นๆ แต่ปัจจุบันชุดไทยอาจมิได้เป็นที่รู้จักมากนัก เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนส่วนใหญ่ต่างลุ่มหลงในวัฒนธรรมต่างชาติ นิยมแฟชั่นการแต่งกายที่ค่อนข้างทันสมัย จึงทำให้ชุดไทยถูกลดความสำคัญลงในที่สุด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าชุดไทยอาจมิถูกใส่ในชีวิตประจำวันทุกๆ วัน แต่ชุดไทยได้ถูกนำมาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ที่ใส่ในวันสำคัญๆ ต่างๆ อาทิ ในวันแต่งงาน เป็นต้น

ซึ่งชุดไทยนั้นถือกำเนิดขึ้นได้ เป็นเพราะกระแสนิยมสืบเนื่อง มาจากที่ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริ และทำการส่งเสริมผ้าไทยอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นเครื่องแต่งตัว ที่เป็นมาตรฐาน และเป็นชุดประจำชาติไทย ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์อันวิจิตรตระการตา งดงาม ด้วยลวดลายไทย ที่อ่อนช้อย ปักและทอลงบนผืนผ้าอย่างประณีตงดงาม

อาทิ ชุดไทยเรือต้น ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี ชุดไทยศิวาลัย และชุดไทยดุสิต ซึ่งเป็นชุดไทยพระราชนิยม ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นเครื่องแต่งกาย ที่งดงามมาก ชื่อแต่ละชุดที่ใช้เรียกก็จะมีลักษณะ การตัดเย็บ ก็ออกแบบ ที่สวยเด่นแตกต่างกันไป อยู่ที่ความชอบของบุคคลที่สวมใส่ว่าชอบชุดแบบไหน โดยคนไทยนิยมใช้ เนื่องในโอกาส และ พิธีการ ที่เป็นทางการ เช่น งานเข้าเฝ้า  งานราตรีในต่างประเทศ งานแต่งงาน ของคนไทย และ พิธีกรรม สำคัญในสังคมชั้นสูง เป็นต้น

acfklrstuwx7

       ชุดไทย ไม่ว่าจะแบบไหนก็สวยประณีต อ่อนช้อย และเป็นถือเป็นเครื่องแต่งกายที่สวยที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ที่มิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สเคยใส่ไปประกวดนั้น เคยได้รับรางวัล ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ซึ่งนับว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยอย่างยิ่ง

งามอย่างไทย งามอย่างเบญจกัลยาณี

1_display

มีใครเคยได้ยินคำว่าเบญจกัลยาณีกันบ้างไหมเอ่ย ผู้หญิงจำเป็นต้องมีเบญจกัลยานี  ซึ่งความหมายของเบญจกัลยานีนั้นก็คือ

1.ผมงาม หมายถึง เรือนผมเป็นเงางามดุจกับหางนกยูง ทรงผมสตรีแต่ก่อนคงจะนิยมดัดปลายงอน ท่านจึงพรรณนาว่า เมื่อปล่อยย้อยยาวถึงชายผ้านุ่ง แล้วกลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่ สมัยนี้เห็นจะกำหนดตามนี้ไม่สำเร็จ จะให้ดำเป็นเงางามหรืองอนขึ้นหลุบลงทำไม่ยาก ถึงไม่มีผมจะงามเลย ก็หาผมปลอมใส่ได้งามทันใจในพริบตา
2.เนื้องาม หมายถึง ริมฝีปากงามเช่นกับผลตำลึง คง หมายความว่ามีสีแดงดุจผลตำลึงสุก สาวยุคนี้อย่าว่าแต่สีผลตำลึงสุกเลย จะให้เป็นสีผลอะไรก็ได้ สีทาปากทำไว้พร้อมเสร็จ สีมะละกอ สีลิ้นจี่ หรือสีทับทิมออกคล้ำ ออกม่วง ออกเหลือง มีให้เลือกตามใจชอบ

3.กระดูกงาม หมายถึง มีฟันขาวเรียบดุจสังข์ที่ขัดดีแล้ว ฝรั่ง ไม่เคยเห็นสังข์และไม่รู้ค่า จึงเปลี่ยนให้เป็นไข่มุกแทน ฟันเป็นอย่างเดียวที่ขัดสีปานใดก็ไม่อาจขาวเงางามเรียบได้ถ้าสุขภาพฟันไม่มี เป็นปฐม ยาเคลือบฟันให้ขาวพอใช้ได้ชั่วครั้งชั่วคราว

4.ผิวงาม คือละเอียดอ่อน สีผิวไม่สำคัญ ผิวดำก็สวยได้ ถ้าเกลี้ยงเกลามีเลือดฝาดสมบูรณ์

และ
5.วัยงาม หมายถึง เนื้อหนังเต่งตึงอยู่จนแก่ ตำนาน เรื่องนางวิสาขา ผู้สร้างปุพพรามปราสาทถวายเป็นวัดครั้งพุทธกาลชมนางวิสาขาว่าวัยงามนักหนา นางมีบุตรชาย 10 บุตรหญิง 10 บุตรชายหญิงมีบุตรชายหญิงอีกคนละ 10 ตลอดชีวิตของนางมีบุตรหลานถึง 8,420 คน นางวิสาขาไปที่ใด บุตรหลานห้อมล้อมไปเป็นหมู่ ผู้คนดูไม่ออกว่าคนไหนคือนางวิสาขา เพราะเห็นเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอเหมือนกันหมด นางวิสาขามีอายุยืนถึง 120 ปี และเป็นลูกสาวเศรษฐี ได้กินอิ่ม นอนหลับเต็มที่ ประกอบกับใจบุญด้วย จึงงามทั้งกายใจ

ความ งาม 5 ประการนั้น ต้องการรากฐานจากธรรมชาติงาม 4 ประการแรก ทำให้เกิดความงามประการสุดท้าย จะให้งามนอกต้องทำให้งามในได้ก่อน เครื่องสำอางโปะปะไว้เสริมสวยได้ชั่วครู่ชั่วยาม สู้กินให้สวยไม่ได้ ประจวบกับอาหารหลักของคนไทย ก็มี 5 หมู่ กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อความเป็นเบญจกัลยาณี